วันจันทร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2558

พิณเปี๊ยะ

พิณเปี๊ยะ  เป็นเครื่องดนตรีพื้นเมืองล้านนาชนิดหนึ่ง เป็นเครื่องดนตรีประเภทดีด ลักษณะของพิณเปี๊ยะมีคันทวนยาวประมาณ 1 เมตรเศษ ตอนปลายคันทวนทำด้วยเหล็กรูปหัวช้างทองเหลือง สำหรับใช้เป็นที่พาดสาย ใช้สายทองเหลืองเป็นพื้น สายทองเหลืองนี้จะพาดผ่านสลักตรงกะลาแล้วต่อไปผูกกับสลักตรงด้านซ้าย สายของพิณเปี๊ยะมีทั้ง 2 สายและ 4 สาย กะโหลกของพิณเปี๊ยะทำด้วยเปลือกน้ำเต้าตัดครึ่งหรือกะลามะพร้าว ก็ได้ เวลาดีด ใช้กะโหลกประกบติดกับหน้าอก ขยับเปิดปิดให้เกิดเสียงตามต้องการ เช่นเดียวกับพิณน้ำเต้าของภาคกลาง
ในสมัยก่อนชาวเหนือมักจะใช้พิณเปี๊ยะดีดคลอกับการขับลำนำในขณะที่ไปเที่ยวสาว พิณเปี๊ยะไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควรเพราะเป็นเครื่องดนตรีที่เล่นยาก
ที่มา: https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%93%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%B0

เปิงมาง

เปิงมาง หรือ เปิงมางคอก เป็นเครื่องดนตรีชนิดหนึ่ง แต่เดิมเป็นเครื่องดนตรีของชาวมอญ ใช้ตีหยอกล้อกับตะโพนมอญ มีลักษณะเป็นกลองขนาดต่างกัน 7 ลูกผูกเป็นราวในชุดเดียวกัน เรียงจากใหญ่ไปหาเล็ก ตัวกลองขึงด้วยหนังสองหน้า ขึ้นหน้าด้วยหนังเรียดโยงสายเร่งหนังหน้ากลองเป็นแนวยาวตลอด เวลาบรรเลงต้องติดข้าวสุกบดผสมขี้เถ้า คอกเปิงมางทำเป็นรั้ว 3 ชิ้นติดต่อกัน มีตะขอแขวนลูกเปิงเป็นระยะ คอกเป็นรูปเกือบครึ่งวงกลม เปิงมางคอกใช้บรรเลงในวงปี่พาทย์มอญ

ที่มา: https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%87

กลองสองหน้า

กลองสองหน้า สันนิษฐานว่าเริ่มนำมาใชในสมัยรัชกาลที่ 2 มีลักษณะคล้ายลูกเปิงมาง แต่ใหญ่กว่า หน้ากลองด้านกว้างเส้นผ่าศูนย์กลาง 21-24 เซนติเมตร ด้านเล็กเส้นผ่าศูนย์กลาง 20-22 เซนติเมตร ตัวกลองยาว 55-58 เซนติเมตร ใช้ในวงปี่พาทย์เสภาและใช้ตีประกอบจังหวะการเดี่ยวเครื่องดนตรีต่างๆด้วย

โหม่ง

โหม่ง เป็นเครื่องดนตรีประเภทตีชนิดหนึ่ง ใช้ตีประกอบจังหวะ โหม่ง คือ ฆ้องคู่ เสียงต่างกันที่เสียงแหลมเรียกว่า "เสียงโหม้ง" ที่เสียงทุ้มเรียกว่า"เสียงหมุ่ง" หรือ บางครั้งอาจจะเรียกว่าลูกเอกและลูกทุ้มซึ่งมีเสียงแตกต่างกันเป็นคู่ห้า แต่ปัจจุบันเป็นคู่แปด วิธีตีโหม่งในวงเครื่องสายหรือปี่พาทย์ ผู้ตีนั่งขัดสมาธิ ให้โหม่งวางอยู่ตรงหน้า จับไม้ตีตีตรง กลางปุ่มด้วยน้ำหนักพอประมาณเนื่องจากโหม่งชนิดนี้มีเสียงดังกังวานยาวนาน จึงนิยมตีห่างๆ คือสองฉิ่งสอง ฉับต่อการตีโหม่งครั้งหนึ่ง แต่ถ้าเป็นวงกลองยาวหรือวงมังคละ จะนิยมตีลงที่จังหวะหนัก(ฉับ)ตลอดโดยไม่เว้น

กรับ

กรับ เป็นเครื่องดนตรีไทยชนิดหนึ่ง ซึ่งกรับนั้นมีอยู่ 3 ชนิดด้วยกัน คือ กรับคู่ กรับพวง และกรับเสภา

                    กรับคู่
        ทำด้วยไม้ไผ่ผ่าซีก เหลาให้เรียบและเกลี้ยงอย่าให้มีเสี้ยน มีรูปร่างแบนตามซีกไม้ไผ่ หนาตามขนาดของ          เนื้อไม้ยาวประมาณ 40 ซม ทำเป็น 2 อันหรือเป็นคู่ ใช้ตีให้ผิวกระทบกันทางด้านแบนเกิดเป็นเสียง กรับ
         กรับพวง
         เป็นกรับชนิดหนึ่งตอนกลางทำด้วยไม้บางๆหรือแผ่นทองเหลือง หรืองาหลายๆอันและทำ           ไม้แก่น 2 อันเจาะรูตอนหัวร้อยเชือกประกบไว้ 2 ข้างเหมือนด้ามพัด เวลาตีใช้มือหนึ่งถือ           ตรงหัวทางเชือกร้อย แล้วฟาดลงไปบนอีกฝ่ามือหนึ่ง เกิดเป็นเสียงกรับขึ้นหลายเสียง จึง             เรียกว่ากรับพวงใช้เป็นอานัตสัญญาณ เช่นในการเสด็จออกในพระราชพิธีของพระเจ้าแผ่น         ดิน เจ้าพนักงานจะรัวกรับ และใช้กรับพวงตีเป็นจังหวะ ในการขับร้อง เพลงเรือ ดอก                 สร้อยและใช้บรรเลงขับร้องในการแสดง นาฏกรรมด้วย 
กรับเสภา   
ทำด้วยไม้แก่น เช่นไม้ชิงชัน ยาวประมาณ 20 ซม หนาประมาณ 5 ซม เหลาเป็นรูป 4 เหลี่ยมแต่ลบเหลี่ยม ออกเพื่อมิให้บาดมือและให้สามารถกลิ้งตัวของมันเองกลอก กระทบกันได้โดยสะดวก ใช้บรรเลงประกอบในการขับเสภา เวลาบรรเลงผู้ขับเสภาจะใช้กรับเสภา 2 คู่ รวม 4 อัน ถือเรียงกันไว้บนฝ่ามือของตนข้างละคู่ กล่าวขับเสภาไปพลาง มือทั้ง 2 ข้างก็ขยับกรับแต่ละข้างให้กลอกกระทบกันเข้าจังหวะ กับเสียงขับเสภา จึงเรียกกรับชนิดนี้ว่า กรับเสภา


ที่มา:https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A

ปีไฉน

ปี่ไฉน เป็นปี่สองท่อน ถอดออกจากกันได้ ท่อนบนเรียงยาว ปลายผายออกเล็กน้อยเรียกว่า "เลาปี่" ท่อนล่างปลายบานเรียกว่า "ลำโพง" ทำด้วยไม้หรืองา ปี่ชนิดนี้เข้าใจว่าได้แบบอย่างมาจาก เครื่องดนตรีของอินเดีย ซึ่งเป็นเครื่องเป่าที่ทำด้วยไม้ ไทยใช้ปี่ชนิดนี้มาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ปัจจุบันใช้ในขบวนแห่ คู่กับปี่ชวา โดยจ่าปีใช้เป่านำกลองชนะในกระบวนพยุหยาตรา



ที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%84%E0%B8%89%E0%B8%99

วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ปี่ภูไท

ปี่ภูไท หรือ ปี่ลูกแคน เป็นเครื่องดนตรีในภาคอีสานของประเทศไทยและประเทศลาว ส่วนใหญ่ปี่ชนิดนี้เริ่มจะหายไปแล้ว เพราะไม้ไผ่ลูกแคนหรือไม้ไผ่เฮี้ยเริ่มหายาก เพราะมีไม่มากเหมือนสมัยก่อน ปี่ภูไทมีลักษณะคล้ายปี่จุมของภาคเหนือ เพราะมีลิ้นที่ทำจากโลหะจำพวก ทอง ทองแดง เงิน และมีเสียง วิธีการเป่าที่คล้ายกัน ปี่ภูไท ใช้บรรเลงกับเครื่องดนตรีชนิดอื่นๆได้ เช่น แคน พิณ ซอ


https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B9%84%E0%B8%97#/media/File:%E0%B8%9B%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B9%84%E0%B8%97.jpeg

ขลุ่ยหลิบ



 ขลุ่ยหลิบหรือ ขลุ่ยหลีก เป็นขลุ่ยที่มีขนาดเล็กที่สุดในบรรดาขลุ่ยไทยมีความยาวประมาณ 25 เซนติเมตร มีเสียงสูงกว่าขลุ่ยเพียงออเป็นคู่สี่ คือปิดหมดทุกนิ้วเป่าเป็นเสียงฟา นิยมใช้เป่าในวงมโหรีเครื่องคู่ เครื่องใหญ่ และวงเครื่องสายคู่ โดยเป็นเครื่องนำในวงเช่นเดียวกับระนาด หรือซอด้วง นอกจากนี้ยังใช้ในวงเครื่องสายปี่ชวา โดยบรรเลงเป็นพวกหลังเช่นเดียวกับซออู้

ข้อมูลโดยทั่วไป ประเภท - เครื่องเป่า ชนิดเกิดเสียงในตัว ลักษณะทางกายภาพ - ยาว 32-35 cm. กว้าง 2-2.5 cm. ลักษณะตรง ส่วนต่างๆ ของขลุ่ย - ตัวเลาขลุ่ย - เป็นส่วนประกอบทางกายภาพที่ใหญ่ที่สุด ในสมัยก่อนนิยมทำจากไม้ไผ่ เนื่องจากไม้ไผ่มีรูกลวงตรงกลาง และมีลักษณะกลมเป็นปกติโดยธรรมชาติแล้ว ปัจจุบันได้นำไม้จริงเช่น ไม้ชิงชัน ไม้พยุง ไม้สัก ไม้ดำดง ไม้พญางิ้วดำ ไม้มะริด ฯลฯ มาทำเลาขลุ่ย ปกติไม้ประเภทนี้จะตัน ดังนั้นผู้สร้างขลุ่ย จึงตรงนำไม้นั้นมากลึงให้กลมเป็นแท่งยาวๆ และทำการคว้านกลึงตรงกลาง ให้เป็นรูตลอดช่วงลำเลา งาช้าง บางท่านก็นำมาทำขลุ่ย แต่ราคาแพงมาก ปัจจบัน มีการนำพลาสติก มาทำขลุ่ย ซึ่งมีราคาถูก ผู้สนใจทั่วไปสามารถซื้อหากันได้ และใช้เป็นสำหรับขลุ่ยสำหรับผู้หัดเบื้องต้น - ดาก - เป็นตัวอุด อยู่ด้านบนของขลุ่ย ลักษณะกลมและคับแน่นกับร่องภายในของขลุ่ย เจาะรูเล็กๆ ลาดเอียงได้ระดับ เรียกว่า รูเป่า เพื่อให้ลมไปกระทบ และเกิดการหักเหที่รูปากนกแก้ว นิยมทำด้วยไม้สักทอง - รูเป่า - เป็นรูเล็ก ๆ อยู่บนสุดของลำเลาขลุ่ย ใช้ปากประกบและเป่าลมเข้าไป ทำให้เกิดเสียง - รูปากนกแก้ว - อยู่ด้านหลังของขลุ่ย เจาะรับลมจากปลายดากภายในขลุ่ย อยู่สุดปลายดากพอดี เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า รูปากนกแก้วนี้ทำให้เกิดเสียง เทียบได้กับลิ้นของขลุ่ย - รูเยื่อ- เป็นรูสำหรับบิดวัสดุที่ทำให้เสียงสั่นพลิ้ว มักใช้เยื่อไม้ไผ่ หรือเยื่อหัวหอมปิด อยู่ด้านขวามือ ปัจจุบันขลุ่ยที่ทำออกมาไม่มีรูเยื่อ เพราะมีความยุ่งยากเวลาที่ต้องไปหาวัสดุที่มาปิดรูเยื่อ จึงปิดรูเยื่อตาย หรือไม่ทำรูเยื่อ จึงทำให้เสียงขลุ่ยไทยขาดคุณภาพลงไป ปัจจุบันยังมีการทำรูเยื่อที่ขลุ่ยอยู่ ถ้าต้องการก็ต้องสั่งช่างที่ทำขลุ่ยให้ทำให้ - รูบังคับเสียง - เป็นรูที่อยู่บนลำเลาขลุ่ยใช้นิ้วปิด-เปิด เพื่อบังคับเสียง มีทั้งหมด 8 รู อยู่ด้านหน้าของขลุ่ย 7 รู และอยู่ด้านหลังอีก 1 รู เรียกว่า รูนิ้วค้ำ - รูร้อยเชือก - มี ๔ รู อยู่ทางส่วนปลายของเลาขลุ่ย โดยการเจาะทะลุหน้า-หลัง และซ้าย-ขวา ให้เยื้องกันในแต่ละคู่ ความจริงรูดังกล่าวนี้ไม่ได้มีจุดประสงค์ในการร้อยเชือก แต่เจาะไว้เพื่อทำให้เสียงต่ำเป่าได้ เวลาเป่าจะไม่เพี้ยนหรือเสียงเสีย - ระดับเสียง - เสียงของขลุ่ยหลิบ ไล่ไปตั้งแต่ ฟา ซอล ลา ที โด(สูง) เร(สูง) มี(สูง) ฟา(สูง) ซอล(สูง) ลา(สูง) ที(สูง) โด(สูงมาก) เร(สูงมาก) มี(สูงมาก) ฟา(สูงมาก) ซอล(สูงมาก)( ตัวย่อ - ฟ ซ ล ท ดํ รํ มํ ฟํ ซํ ลํ ทํ ดํ2 รํ2 มํ2 ฟํ2 ซํ2) เสียงของขลุ่ยหลิบ ห่างจากขลุ่ยเพียงออ 4 เสียง เมื่อปิดนิ้วทั้งหมด จะได้เสียง ฟา (ใช้เสียงเพียงออเป็นตัววัด)


https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%82%E0%B8%A5%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%9A

วันพุธที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2558

รือบับ

รือบับ (อังกฤษ: Rebab; อาหรับ: الرباب หรือ رباب‎) เป็นที่เข้าใจกันว่าเป็นเครื่องดนตรีที่มีการละเล่นกันตั้งแต่ในบริเวณสามจังหวัดชายแดนใต้มาเลเซีย สุมาตราเหนือของประเทศอินโดนีเซีย และชวา ใช้ในการแสดง เมาะโย่งหรือมะโย่ง ซึ่งการละเล่นนี้ไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นเป็นศิลปะละครรำในวัฒนธรรมหลวงหรือเป็นวัฒนธรรมราษฎร์ของคนถิ่นมลายู แต่ที่ปัตตานีปรากฏหลักฐานการละเล่นนี้ที่หนังสือ ฮิกายัดปัตตานีหรือพงศาวดารปัตตานี ในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 17 รือบับมีลักษณะโดยรวมคล้ายกับซอสามสาย

วันอังคารที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2558

เหมือนเปียโนยักษ์


เครืองดนที่ประหลาดสุดไพเราะ



เครื่องดนที่เเปลกที่สุด


ปี่มอส

ปี่มอญ   เป็นเครื่องเป่าในตระกูลปี่ ไทยได้แบบอย่างมาจากมอญ ปี่ชนิดนี้แบ่งเป็น 2 ท่อน ท่อนแรก
เรียกว่า"ตัวเลา" ทำด้วยไม้จริง กลึงให้กลมเรียวยาว ภายในโปร่งตลอด ตอนปลายกลึงผายออกเล็กน้อย ถัดลงมากลึงเป็นลูกแก้วคั่นสำหรับผูกเชือกโยงกับตัวลำโพง ที่ตัวเลาด้านหน้าเจาะรู 7 รู เรียงตามลำดับเพื่อเปิดปิดนิ้วบังคับเสียง ด้านหลังตอนบนเจาะอีก 1 รูเป็น"รูนิ้วคำ" อีกท่อนหนึ่งเรียกว่าลำโพง ทำด้วยทองเหลืองหรือสแตนเลส ลักษณะคล้ายดอกลำโพง แต่ใหญ่กว่า ปลายผายบานงุ้มขึ้น ตอนกลางและตอนปลายตีเป็นลูกแก้ว ตัวเลาปี่จะสอดใส่เข้าไปในลำโพง โดยมีเชือกเคียนเป็นทักษิณาวัฏ ในเงื่อน"สับปลาช่อน" ยึดระหว่างลูกแก้วลำโพงปี่กับลูกแก้วตอนบนของตัวเลาปี่ เพื่อไม่ให้หลุดออกจากกันง่ายๆ
เนื่องจากว่าปี่มอญมีขนาดใหญ่และยาวกว่าปี่อื่นๆ ทำให้กำพวดของปี่จึงต้องยาวไปตามส่วนโดยมีความยาวประมาณ 8-9 ซม. และเขื่องกว่ากำพวดของปี่ชวา และมีแผ่นกะบังลมเช่นเดียวกับปี่ชวาและปี่ไฉน[1]
ปี่มอญใช้เล่นในวงปี่พาทย์มอญและเล่นประกอบเพลงออกภาษาในภาษามอญ
อ้างอิง;  https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%8D
มาราคัส (อังกฤษ: Maracas) หรือ ลูกแซก คือ เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องประกอบจังหวะ จัดอยู่ในกลุ่มเครื่องประกอบจังหวะที่มีระดับเสียงไม่แน่นอน เดิมทำด้วยผลน้ำเต้าแก่จัดทำให้แห้ง ภายในบรรจุด้วยเมล็ดน้ำเต้า เมล็ดถั่วต่าง ๆ ต่อด้ามไว้สำหรับถือเวลาเล่นใช้เขย่าเพื่อให้เกิดเสียงดังซ่าๆ จะเขย่าด้วยมือทั้งสองข้างให้ดังสลับกัน ในปัจจุบันทำด้วยไม้ หรือพลาสติก มักถูกใช้ประกอบจังหวะกับการแสดงดนตรีอคูสติก และ การแสดงดนตรีของวงคอมโบ มาราคัส เป็นเครื่องประกอบจังหวะอีกหนึ่งชนิดที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก

อ้างอิง; https://th.wikipedia.org

วันอังคารที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2558

กลองมลายู

กลองมลายู มีลักษณะเดียวกับกลองแขก แต่สั้นและอ้วนกว่า หน้าหนึ่งใหญ่ อีกหน้าหนึ่งเล็กขึ้นหนังสองหน้า เร่งให้ตึงด้วยหนังรูดให้แน่น สายโยงเร่งเสียงทำด้วยหนัง หน้าใหญ่อยู่ทางขวาตีด้วยไม้งอ หน้าเล็กตีด้วยฝ่ามือ ใช้บรรเลงคู่เหมือนกลองแขก ลูกเสียงสูงเรียกว่า"ตัวผู้" ลูกเสียงต่ำเรียกว่า"ตัวเมีย" ใช้บรรเลงในวงปี่พาทย์นางหงส์และวงลอย













ที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%B9

วันเสาร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2558

中国国际广播电台 ซุน

ซุน 中国国际广播电台 เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่อเป่าโบราณที่สุดของจีน มีประวัติกว่า 7 พันปีแล้ว
ซุนเริ่มมีขึ้นจากเครื่องมือล่าสัตว์ที่เรียกว่า”หลิวซิงสือ” ในสมัยดึกดำบรรพ์ มนุษยได้ใช้เชือกผูกกับก้อนหินหรือก้อนดิน เพื่อขว้างไปล่านกหรือสัตว์ บองก้องเป็นกลวง เมื่อรำแล้วจะมีเสียงออก ต่อมา มีบางคนรู้สึกสนุก จึงเอามาเป่า แล้วจึงค่อยๆเปลี่ยนเป็นซุน ซุนในขั้นต้นส่วนใหญ่ทำด้วยหินหรือกระดูกสัตว์ ต่อมาจึงค่อยๆพัฒนาและทำด้วยเครื่องปั้นดินเผา และมีรูปร่างหลายชนิต เช่น รูปแบนกลม รูปกลมรี รูปวงกลม รูปปลาและรูปสาลี่เป็นต้น ในจำนวนนี้รูปสาลี่มีมากกว่า

บนยอดซุนมีรูสำหรับเป่า ด้านล่างเป็นพื้นเรียบ ด้านข้างมีรูเสียง ในสมัยก่อน ที่แรก ซุนมีรูเสียงเพียงรูเดียว แล้วค่อยๆพัฒนาเป็นหลายรูเสียง จนกระทั่งถึงปลายศตวรรษที่สามจึงมีรูเสียง 6 รู
ศาสตราจารย์ฉาวจื้อของสถาบันดนตรีจีนได้เริ่มวิจัยและทำตามแบบซุนของสมัยโบราณในปลายทศวรรษปี 1930 ต่อมา บนพื้นฐานของซุนที่มีรูเสียง 6 รูนั้น ศาสตราจารย์เฉินฉงของสถาบันดนตรีเทียนสินได้ออกแบบซุนเครื่องปั้นดินเผาแบบใหม่ที่มีรู 9 รู ทำด้วยเครื่องเคลือบของเมืองอี๋ซิงมณฑลเจียงซูของจีน ซุนที่มีรูเสียง 9 รูชนิตนี้ได้อนุรักษ์รูปแบบและท่วงทำนองเสียงของเดิม แต่มีเสียงดังขึ้นและมีท่วงทำนองเสียงกว้างขึ้น สามารถเป่าครึ่งเสียงได้ และทำให้ซุนกลายเป็นเครื่องดนตรีที่เปลี่ยนท่วงทำนองเสียงได้ มีลักษณะพิเศษของตน มี 9 รูชนิดนี้ได้เปลี่ยนการเรียงระดับรูเสียงที่ไม่มีระบบระเบียบ และทำตามความนิยมของคนสมัยปัจจุบัน ทำให้การบรรเลงสะดวกมากขึ้น และสามารถใช้ได้ทั้งบรรเลงเดี่ยว บรรเลงร่วมและเป็นเครื่องประกอบเสียงได้
ซุนี 9 รูที่ออกแบบขึ้นทำให้ซุน เครื่องดนตรีสมัยโบราณมีชีวิตชีวาขึ้นใหม่ จากนั้นไม่นาน นายเจ้าเหลียงซันของคณะศิลปะบันเทิงแห่งมณฑลหูเป่ย ลูกศิษย์ของศาสตราจารย์เฉินฉงได้วิจัยและผลิตซุน 10 รูทำด้วยไม้แดง ซึ่งได้แก้ข้อบกพร่องที่เป่าเสียงสูงได้ยาก
ในประวัติดนตรี ซุนสำคัญที่ใช้ในดนตรีของราชสำนัก ในดนตรีราชสำนักนั้น ต้องใช้ซุนสองชนิต คือ “ซ่งซุน”กับ”หย่าซุน” ซ่งซุนมีขนาดเล็ก คล้ายกับไข่ไก่ และมีท่วงทำนองเสียงสูง หย่าซุนมีขนาดใหญ่ มีท่วงทำนองเสียงไม่อ่อนชอย ส่วนใหญ่จะบรรเลงร่วมกับเครื่องดนตรีเป่าชนิตหนึ่งที่ทำด้วยไม้ไผ่ซึ่งมีชื่อว่า “ฉือ” ในหนังสือ”ซือจิง” ที่ได้เก็บบทกวีรุ่นเก่าที่สุดของจีนได้มีคำกล่าวว่า มีพี่น้องสองคน คนหนึ่งเป่าซุนและอีกคนหนึ่งเป่าฉือ ซึ่งหมายความว่า มีความรักเหมือนพี่น้องกัน

ที่มา : http://www.oknation.net/blog/feedomhiphop/2007/09/04/entry-1